วันอังคารที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2553


กลอนวันครู

คำว่าครูมีความหมายไว้หลายอย่าง เป็นผู้สร้างความรู้แก่ลูกศิษย์
เพื่อให้เรานำความรู้ไปนึกคิด ในชีวิตที่ต้องดำเนินไป
คุณครูนั้นรักศิษย์เหมือนดั่งลูก สอนให้รู้ว่าถูกผิดคืออะไร
คอยค้ำจุนไม่ให้ทำผิดไป เพื่อให้ฝันเรานั้นก้าวไปไกล

(น.ส.ขวัญฤทัย ภูมิลา) ร.ป.ศ 531 เลขที่ 7

วันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

กลอนวันครู





















คุณครูคือพ่อแม่คนที่สอง

ท่านปกครองเรื่องการเรียนของพวกฉัน

ท่านผู้นี้มีแต่ให้ความผูกพันธ์

ไม่มีวันที่จะทิ้งลูกศิษย์ไป

ครูเป็นผู้ปลูกฝังให้วิชา

สอนภาษาให้ฉันรู้ทันสมัย

ท่านผู้นี้ทุ่มเททั้งกายใจ

เพื่อหวังให้ลูกศิษย์เป็นคนดี

หลักการบริหารของเจมส์มูนเนย์ และ อลัน ไรเลย์

*มูนเนย์และไรเลย์ ได้เสอนหลักการบริหารที่เป็นสากลดังนี้คือ
1.หลักการประสานงาน
2.หลักสายการบังคับบัญชา
3.หลักการแบ่งงานตามหน้าที่
4.หน่วยงานหลักและหน่วยงานสนันสนุน

หน่วยงานหรืององค์กรสามารถนำหลักบริหารมูนเนย์และไรเลย์ เข้ามาใช้ในการทำงานภายในหน่วยงานและองค์กร โดยการบริหารของมูนเนย์และไรเลย์ อาจเป็นปัจจัยที่สำคัญ ที่สามารถกำหนดความสำเร็จของงาน และได้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญ ในการทำงานประสานงานกันให้งานบรรลุผลสำเร็จได้
ยกตัวอย่าง การที่อาจารย์มอบหมายการบ้านให้ ถ้าคนที่เห็นความสำคัญของงาน เขาจะพยายามทำงานที่อาจารย์มอบหมายให้จนเสร็จ บรรลุความสำเร็จ แต่ถ้าคนที่ไม่เห็นความสำคัญของงาน เขาก็จะเที่ยวจึงมาทำงานที่อาจารย์มอบหมายให้ จึงทำให้งานนั้นไม่บรรลุเป้าหมายตามความต้องการที่อาจารย์กำหนดไว้


นายกัมปนาท ปัญญาดี เลขที่3 รปศ.531

กลอนวันไหว้ครู



บรรจงจีบกล้วยไม้ใส่พานพุ่ม

หญ้าแพรกคุมประดับกับดอกเข็ม

ดอกรักเป็นพู่ห้อยเรียงร้อยเต็ม

มะเขือเข้มสีม่วงขาวข้าวตอกแซม

ปักธูปเทียนตรงกลางอย่างปราณีต

พร้อมเขียนขีดอักษราแต่งแต้ม

แด่แม่พิมพ์ทอแสงเรืองเหลืองวับแวม

เรือจ้างแจ่มโดยสารส่งลงนาวา








( นางสาวอมรรัตน์ วาหะรักษ์ )


รปศ.531 เลขที่ 47

วันศุกร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

กลอนวันไหว้ครู


แทบกราบเท้าของครูผู้มีพระคุณ ที่การุณให้ศิษย์นั้นเป็นดี

ขอให้ครูนั้นจงมีสุขขี มีชีวีที่สุขทุกทุกนาที

ครูคือผู้อบรมสั่งสอนศิษย์ มิได้คิดถึงเวลาวารี

ศิษย์สัญญาว่าจะเป็นคนดี และจะมีความอ่อนน้อมถ่อมตน



(น.ส พรพิมพ์ ทองร่วง เลขที่20 รปศ531)

วันพฤหัสบดีที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

กลอนวันครู

วันครู
ขอน้อมจิตวันทาบูชาครู ขอเชิดชูปูชนีย์คุณมากล้น
ขอกตัญญูต่อครูทุกทุกคน ขอกุศลแห่งความดีคุ้มครองครู
ขอนบนิ้วบูชามากราบไหว้ คุณครูไทยทั้งหลายได้รับรู้
น้อมนำใจใส่ทูนเทิดและเชิดชู จากหนูๆนักเรียนเขียนอวยพร
(นางสาวอนุสรา ชื่นอารมณ์ เลขที่ 45 ห้อง รปศ.531)
ทฤษฎีองค์การว่าด้วยหลักการบริหารการจัดการ ของ ลูเธอร์ กูลิค และ ลินดอลล์ เออร์วิก
(หลักการแบ่งงานตามประสิทธิภาพ)

เพื่อสะดวกในการทำหน้าที่ของแต่ละคน และเพื่อให้ทราบว่าแต่ละคนมีประสิทธิภาพด้านใดบ้าง เพื่อให้งานตรงกับคน นั้นๆ ทำให้งานเสร็จเร็วขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

เหมือนกับงานรับเหมาก่อสร้างที่เคยเห็นกัน จะมีการแบ่งงานเป็นส่วนๆ คนที่ชำนาญด้านใดก็รับผิดชอบในด้านนั้นๆ
เช่น ช่างปูน ก็รับผิดชอบด้านปูน ส่วนคนที่เป็นช่างไม้ ก็รับผิดชอบเรื่องไม้ทั้งหมด เป็นต้น เพื่อให้งานเสร็จเร็วขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เหมือนกับ ทฤษฎีองค์การว่าด้วยหลักการบริหารการจัดการ ของ ลูเธอร์ กูลิค และ ลินดอลล์ เออร์วิก

ว่าด้วยการแบ่งงาน ให้แต่ละคนทำภายในองค์กร

สรุป เป็นการแบ่งแยก หน้าที่ให้แต่ละคนทำภายในองค์กร แบ่งงานกันทำเฉพาะด้าน เพื่อให้ทราบว่าแต่ละคนถนัดเรื่องใดบ้าง และมีหน้าที่รับผิดชอบเรื่องอะไร

(น.ส.ขวัญฤทัย ภูมิลา) ร.ป.ศ 531 เลขที่ 7

วันพุธที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ทำอย่างไรให้มีบุคลิกภาพที่ดี

ทฤษฎีพัฒนาการด้านบุคลิกภาพโดย คริส อาร์จิริส
นักวิชาการ คริส อาร์จิริสท่านได้เสนอทฤษฎี พัฒนาการบุคลิกภาพด้านต่างๆ 3 ประการ
1.ด้านมนุษย์ที่มีสุขภาพจิตดี เป็นกระบวนการที่เปลี่ยนจากคนเฉื่อยชาเป็นคนที่กระตือรือร้นในการทำงาน
คนที่ต้องพึ่งพาคนอื่นเป็นคนที่มีความเป็นอิสระอาศัยตัวเองเป็นหลัก
คนที่มีความสนใจที่ชั่วคราวเป็นคนที่มีความสนใจหนักแน่น
คนที่มองอะไรในระยะสั้นเป็นคนที่มีวิสัยทศน์
คนที่ไม่รู้จักตนเป็นคนที่รู้จักตนรู้จักควบคุมตัวเอง
อาจิริส เชื่อว่า มนุษย์ทุกคนควรมีโอกาสเท่ากันในการพัฒนาตัวเอง
2.ด้านการจัดองค์การแบบระบบราชการ เป็นการจัดโครงสร้างแบบเป็นทางการในรูปพีระมิด
เป็นอุปสรรคต่อการที่คนจะเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ได้
เป็นการจัดองค์การที่ไม่เปิดโอกาสให้คนใช้ความสามารถของตนได้อย่างเต็มที่
เป็นอุปสรรคอย่างยิ่งต่อการที่คนจะมีสุขภาพจิตแจ่มใส
สาเหตุเพื่อไม่เอื้ออำนวยต่อการเปิดโอการให้คนได้พัฒนาเป็นผู้ใหญ่
3.ด้านการออกแบบองค์การตามความคิดแบบระบบราชการหาใช้เป็นวิธีการออกแบบที่ส่งผลให้องค์การเกิดประสิทธิ์ผลไม่
เพราะคนงานที่พัฒนาเป็นผู้ใหญ่แล้วจะรู้สึกกระอักกระอ่วนและไม่สบายใจ
ดั้งนั้น การยึดถือทฤษฎีระบบราชการแบบดั้งเดิมย่อมเป็สิ่งที่ไม่ถูกต้อง และเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อคนงานที่ป็นผู้ใหญ่
Ex.ในปัจจุบันมีคนที่ทำเฉื่อยชามาก เช่น
แอนเป็นคนที่ทำงานล่าช้า และมาสายในเวลาทำงาน
แอนจึงค้นหาแนวคิดที่จะนำมาปรับปรุงตัวเองให้เเป็นคนที่มีความรวดเร็วในการทำงาน
แอนจึงค้นพบทฤษฎีของ อาจิริส ที่เป็นกระบวนการที่เปลื่ยนจากคนเฉื่อยชาเป็นคนที่กระตือรือร้น
ในการทำงาน ซึ่งเป็นกระบวนการจาก คนที่ที่ต้องพึ่งพาคนอื่นเป็นคนที่มีความเป็นอิสระอาศัยตัวเองเป็นหลัก
และแอนจึงมีประสิทธิภาพในการทำงานและเป็นคนตรงต่อเวลามากขึ้น แอนจึงเป็นคนที่มีบุคลิกภาพที่ดี
คนที่ยังทำงานเฉื่อยชาสามารถนำทฤษฎีของ คริส อาร์จิริส ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
(น.ส พรพิมพ์ ทองร่วง เลขที่20 รปศ531)

วันอังคารที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

หลักการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ของ เฟรดเดอริค เทย์เลอร์ ( Frederick Taylor )

หลักการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ ของเฟรดเดอริค เทย์เลอร์ ได้เสนอความคิดเห็นในบทความชื่อ " The Pprinciple of Scientific Management" ว่าการบริหารงานตามหลักวิทยาศาสตร์การจัดการเป็นวิธีที่ดีกว่าการอาศัยหลักการความเคยชิน โดยเทย์เลอร์เชื่อว่าผู้บริหารมีหน้าที่ดังนี้
1. สร้างหลักการทำงานที่เป็นวิทยาศาสตร์สำหรับการทำงานในขั้นตอนต่างๆของงาน
2. คัดเลือกคนงานตามหลักกฎเกณฑ์วิทยาศาสตร์
3. พัฒนาคนงานให้เรียนรู้หลักการทำงานแบบวิทยาศาสตร์
4.สร้างบรรยากาศการร่วมมือระหว่างผู้บริหารกับคนงาน
ในการทำงานในสังคมหรือองค์กรต่างๆบนโลกจะต้องมีหลักการในการทำงาน ทั้งลูกน้องและเจ้านาย การตั้งหรือมีกฎเกณฑ์ในการทำงานเพื่อให้งานนั้นๆสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี และจะต้องมีการเลือกสรรค์ บุคคลกับงานในหน้าที่ต่างๆให้เหมาะสมกับกายภาพของบุคคลนั้นๆ และสถานที่ทำงานก็ควรมีบรรยากาศที่น่าอยู่สามารถทำงานได้อย่างสบายใจ Ex. ดิฉันเห็นการบริหารงานในโรงงานนำยางแถวบ้านของดิฉัน เขามีหลักในการบริหารงานในโรงงานทั้งผู้จัดการและคนงานทุกคน โรงงานนี้เลือกสรรค์ผู้ที่จะเข้ามาทำงานโดยเลือกตามความสามารถและประสบการณ์ของบุคคลนั้นๆ มีการจัดระบบการทำงานภายในโรงงาน จนทำให้ประสบผลสำเร็จและเป็นที่ไว้วางใจแก่ลูกค้า และทำให้ดิฉันนึกถึงหลักการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ของ เฟรดเดอริค เทย์เลอร์
ทุกๆองค์กรหรือหน่วยงานต่างๆ จำเป็นจะต้องมีระบบแบบแผนที่แน่นอน
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานในหน่วยงานให้ดีขึ้น

( นางสาว อนุสรา ชื่นอารมณ์ เลขที่ 45 ห้อง รปศ.531 )

วันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

หลักการบริหาร14ประการของ เฮนรี เฟโยล์ ( Henri Fayol )

หลักการบริหาร14ประการของ เฮนรี เฟโยล์
เฮนรี เฟโยล์ นักวิศวกรอุตสาหกรรมชาวฝรั่งเศสได้เขียนหนังสือชื่อว่า " General and Industrial Administration ในปี ค.ศ.1916 โดยอาศัยประสบการณ์การเป็นนักบริหาร โดยแนวคิดของเฟโยล์ สามารถสรุปได้ดังนี้
1.หลักเกี่ยวกับหน้าที่การจัดการ โดยมีกระบวนการทำงานประกอบด้วยหน้าที่5ประการ
1.การวางแผน
2.การจัดองค์กร
3.การบังคับบัญชาสั่งการ
4.การประสานงาน
5.การควบคุม
2.เกี่ยวกับหลักการจัดการ
ประการที่1 หลักอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ
ประการที่2 หลักของการมีผู้บังคับบัญชาเพียงคนเดียว
ประการที่3 หลักของการไปในทิศทางเดียวกัน
ประการที่4 หลักสายการบังคับบัญชา
ประการที่5 หลักของการแบ่งงานกันทำ
ประการที่6 หลักความมีระเบียบวินัย
ประการที่7 หลักประโยชน์ของส่วนบุคคลเป็นรองจากประโยชน์ส่วนรวม
ประการที่8 หลักของการให้ผลตอบแทน
ประการที่9 หลักของการรวมอำนาจ
ประการที่10 หลักความเป็นระเบียบเรียบร้อย
ประการที่11 หลักความเสมอภาค
ประการที่12 หลักความมั่นคงในการทำงาน
ประการที่13 หลักความคิดริเริ่ม
ประการที่14 หลักความสามัคคี ตัวอย่าง เช่น การบริหารในหมู่บ้านของดิฉันมีการปกครองโดยใช้หลักการ14ประการในบางข้อมาบริหารการปกครองถึงแม้จะนำมาใช้เพียงบางข้อแต่ก็ทำให้ในหมู่บ้านของดิฉันมีการบริหารอย่างระบบและมีคุณภาพ ทำให้ดิฉันนึกถึงหลักบริหาร 14 ประการ ของ เฮนรี เฟโยล์
ตามหน่วยงานต่างๆต้องมีหลักในการทำงาน ทุกคนต้องมีหน้าที่งานที่ต้องรับผิดชอบ และจำเป็นต้องมีการวางแผนงาน มีผู้บังคับบัญชาเพียงคนเดียวเพื่อให้งานเดินหน้าไปได้อย่างราบรื่น งานทุกอย่างจะต้องดำเนินการไปในทิศทางเดียวกัน สามารถแบ่งงานกันทำได้อย่างมีระเบียบเรียบร้อย เพราะจะทำให้เกิดประโยชน์แก่หน่วยงาน ผลตอบแทนก็จะเป็นที่น่าพอใจและทุกคนในหน่วยงานก็จะเกิความเสมอภาค
หลักการบริหาร14ประการ ของเฮนรี เฟโยล์นั้นเป็นหลักการที่เป็นที่ยอมรับและเกิดขึ้นได้ในทุกหน่วยงานหรือองค์กร ถ้าองค์กรหรือหน่วยงานใดนำหลัก14ประการนี้ไปใช้ก็จะเกิดผลดีกับหน่วยงานหรือองค์กรนั้นๆ

( นางสาว อมรรัตน์ วาหะรักษ์ เลขที่ 47 ห้อง รปศ.531 )